Back

นักศึกษาทุน CWIE นานาชาติ ประจำภาคปลาย ปีการศึกษา 2565 นำเสนอผลงาน🎉🎉🎉

เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2566 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมวิทยวิภาส๑ (ชั้น 1 อาคารหลังใหม่) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการได้จัดโครงการ “Presentationfor International CWIE KKU ประจำภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2565” โดยรองศาสตราจารย์ ดร.วรรณวิภา แก้วประดิษฐ์ พลพินิจ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ กล่าวรายงาน โดยมีใจความว่า “โครงการ Presentation for International CWIE KKU ประจำภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2565” มีวัตถุประสงค์
1) เพื่อให้นักศึกษาที่ได้รับทุนสนับสนุน CWIE นานาชาติ ประจำภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2565 ได้นำเสนอโครงงาน/วิจัย CWIE หลังออกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ ณ ต่างประเทศ
2) เพื่อคัดเลือกผลงานของนักศึกษาเป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยในการประกวดผลงาน CWIE นานาชาติ ในระดับเครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และระดับประเทศต่อไป
3) เพื่อให้นักศึกษาที่เข้าร่วมรับฟังเกิดความรู้ความเข้าใจกระบวนการสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน นานาชาติ ซึ่งกลไกในการพัฒนายกระดับคุณภาพอุดมศึกษาในการผลิตบัณฑิตที่มีศักยภาพสูง และมีคุณลักษณะตรงตามความต้องการขององค์กรผู้ใช้บัณฑิต และตลาดแรงงานทุกระดับ มีผู้เข้าโครงการประมาณ 120 คน ได้แก่ คณาจารย์ นักศึกษา บุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้องกับ CWIE รูปแบบการจัดโครงการเป็นการนำเสนอผลงาน Oral Presentation ของนักศึกษา CWIE ที่ได้ออกปฏิบัติงาน ณ ต่างประเทศ จำนวน 69 คน โดยแยกเป็นคณะ ดังต่อไปนี้
1.คณะวิทยาศาสตร์ จำนวน 21 คน
2.คณะวิทยาลัยนานาชาติ จำนวน 3 คน
3.คณะสหวิทยาการ จำนวน 4 คน
4.คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี จำนวน 6 คน
5.คณะเศรษฐศาสตร์ จำนวน 5 คน
6.คณะเกษตรศาสตร์ จำนวน 15 คน
7.คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 1 คน
8.วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น จำนวน 14 คน  และแยกออกเป็นประเทศ ดังนี้
1.ประเทศ สปป.ลาว จำนวน 2 คน
2.ประเทศเวียดนาม จำนวน 36 คน
3.ประเทศกัมพูชา จำนวน 5 คน
4.ประเทศมาเลเซีย จำนวน 2 คน
5.ประเทศอินโดนีเซีย จำนวน 6 คน
6.ประเทศฟิลิปปินส์ จำนวน 10 คน
7.ประเทศไต้หวัน จำนวน 3 คน
8.ประเทศสิงคโปร์ จำนวน 5 คน
สำหรับการนำเสนอผลงานแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ กลุ่มมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และการจัดการ แยกเป็น 4 ห้องย่อย มีคณะกรรมการตัดสินผลงาน ห้องย่อยละ 2 คน และมีรางวัลสำหรับผู้ชนะการประกวด ดังนี้
รางวัลนำเสนอผลงาน ห้องละ 2 รางวัล รวมเป็น 8 รางวัล
– รางวัลดีเด่น พร้อมเกียรติบัตร และเงินรางวัล จำนวน 2,000 บาท
– รางวัลรองรองดีเด่น พร้อมเกียรติบัตร และเงินรางวัล จำนวน 1,000 บาท

หลังจากนั้นได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้เกียรติเป็นประธานในการเปิดงาน โดยมีใจความว่า “การดำเนินโครงการนี้ถือเป็นการดำเนินการตามนโยบายกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Cooperative and Work Integrated Education: CWIE) ตามแนวทาง CWIE Platform ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นสมรรถนะผู้เรียน ให้พร้อมสู่โลกแห่งการทำงานจริง ตามความต้องการของตลาดงาน ผ่านการร่วมผลิตระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานผู้ใช้บัณฑิตโครงการนี้ จะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนกระบวนงานการจัดการศึกษาสหกิจศึกษาบูรณาการการทำงานแต่ละคณะ วิทยาลัย ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ช่วยพัฒนานักศึกษาให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การสร้างกำลังคน ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่มุ่งหวังส่งเสริมการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง การพัฒนานักศึกษาให้มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดมุมมองและขีดความสามารถในการเป็นพลเมืองโลก และนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความพร้อมในการเป็นพลเมืองโลก (Global citizen)”
ซึ่งในการตัดสินการนำเสนอผลงานได้รับเกียรติจากคณาจารย์ เจ้าของสถานประกอบการจำนวนทั้งหมด 8 ท่าน และผลการตัดสินการนำเสนอผลงานมีดังต่อไปนี้
1. กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นานาชาติ กลุ่มที่ 1
– รางวัลดีเด่น ได้แก่ นางสาวนภัสสร มะลัยทอง จากคณะวิทยาศาสตร์
นำเสนอเรื่อง “การพัฒนาคลิปที่ใช้ในกระบวนการผลิตเส้นด้ายเพื่อยืดอายุการใช้งานและคุณสมบัติเชิงกลของเส้นด้ายที่ดี” (Development of clip used in yarn manufacturing process for a better)
สถานประกอบการ Thien Phuoc Manufacturing & Trading Co.,Ltd
ประเทศ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Vietnam)
– รางวัลรองดีเด่น ได้แก่ นางสาววิภากร หมู่บ้านม่วง จากคณะวิทยาศาสตร์
นำเสนอเรื่อง “ผลกระทบของอุณหภูมิการเผาและอัตราการให้ความร้อนต่อคุณสมบัติทางเคมีไฟฟ้าของแคโทด LiNi0.8Co0.15Al0.05O2 สำหรับแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน” (Effect of Calcination Temperature and heating rate on the Electrochemical Properties of Nickel- Rich LiNi0.8Co0.15Al0.05O2 Cathodes for Lithium-Ion Batteries.,)
สถานประกอบการ Universitas Sebelas Maret (UNS)
ประเทศ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Indonesia)
2. กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นานาชาติ กลุ่มที่ 2
– รางวัลดีเด่น ได้แก่ นางสาวดุษฎี ดวงแก้ว จากคณะเกษตรศาสตร์
นำเสนอเรื่อง “การศึกษาความหลายหลายของไส้เดือนฝอยบริเวณพื้นที่การปลูกกาแฟของประเทศเวียดนาม” (The diversity of nematode communities from coffee plantations in Central Highland, Vietnam)
สถานประกอบการ Department of Nematology, Institute of Ecology and Biological Resources, Vietnam Academy of Science and Technology
ประเทศ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Vietnam)
– รางวัลรองดีเด่น ได้แก่ นายธีระธรรม ประสานพันธ์ จากคณะเกษตรศาสตร์
นำเสนอเรื่อง “การจัดการระยะแผงกั้นหลังแม่สุกรเพื่อลดการสูญเสียลูกสุกรจากการถูกแม่ทับหลังคลอด” (Management of phase back-barrier of sow to reduce the loss of piglets being crushed after farrowing.)
สถานประกอบการ Hong Ha Nutrition Joint Stock Company
ประเทศ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Vietnam)
3. กลุ่มมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และการจัดการ นานาชาติ กลุ่มที่ 1
– รางวัลดีเด่น ได้แก่ นางสาวธีร์จุฑา จันทะไชยา จากคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี
นำเสนอเรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศอินโดนีเซียและบริษัทที่จดทะเบียนในอุตสาหกรรม Consumer non-cyclical หมวด D311 Tobacco ในตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย Indonesia Stock Market (Bursa Efek Indonesia)” (The relationship between Gross Domestic Product and Listed Companies in Consumer non-cyclical Sector, D331 Tobacco Industry in Indonesia Stock Market (Bursa Efek Indonesia))
สถานประกอบการ Bank Jateng Syariah Cab Magelang
ประเทศ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Indonesia)
– รางวัลรองดีเด่น ได้แก่ นางสาวชนิตปรียา ปวิวงศ์วริศ จากวิทยาลัยนานาชาติ
นำเสนอเรื่อง Prostitution Abroad
สถานประกอบการ Royal Thai Embassy, Singapore
ประเทศ สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Singapore)
4. กลุ่มมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และการจัดการ นานาชาติ กลุ่มที่ 2
– รางวัลดีเด่น ได้แก่ นางสาวพรไพลิน พร้อมมูล จากวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น
นำเสนอเรื่อง “ปัจจัยที่ส่งผลให้ระบบการดำเนินงานด้านเอกสารในสำนักทะเบียนเกิดความล่าช้า : กรณีศึกษาสำนักทะเบียน มหาวิทยาลัยบาเกียว ประเทศฟิลิปปินส์” (Factors which result in delays in the Admissons and Records Center’s document processing system : Case study of Admissons and Records Center, University of Baguio, Philippines)
สถานประกอบการ University of Baguio
ประเทศ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Philippines)
– รางวัลรองดีเด่น ได้แก่ นางสาวกุญรัตน์ บุตรสา จากคณะสหวิทยาการ
นำเสนอเรื่อง หนังสือคู่มือสําหรับการทํางานในแผนกการสํารองห้องพักโรงแรมคราวน์พลาซ่า เวียงจันทน์(Manual for the reservation department, Crowne Plaza Vientiane.)
สถานประกอบการ Crowne Plaza Vientiane
ประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Laos)
ซึ่งผลงานทั้งหมดนักศึกษาจะต้องเป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยในการประกวดผลงาน CWIE นานาชาติ ในระดับเครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และระดับประเทศต่อไป

ภาพ : หน่วยสารสนเทศและวิทยาการข้อมูล งานรับเข้าและการตลาด
ข่าว : หน่วยประชาสัมพันธ์และการตลาด งานบริหารและสารสนเทศ